A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined index: lang

Filename: controllers/blog.php

Line Number: 41

smileFOKUS - ตัวจริงเรื่อง CRM สร้าง Brand Loyalty และระบบสมาชิก
CRM ฉบับ smileSME ก่อนจะ Setting Goal คุณเคยทำสิ่งนี้หรือยัง
13.03.2020
โดยยิ้มเก่ง
 
 
 
Highlights:
แผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
Plan-Do-Check-Act cycle (PDCA)
“วงจรวางแผนแก้ไขปัญหาและทดลองทำซ้ำเรื่อยๆ”
 
 
 
แนวคิดสำคัญหรือวงจรคุณภาพในการควบคุมบริหาร วางแผนแก้ปัญหาที่คิดค้นโดย “Walter Shewhart” ในชื่อ Shewhart Cycle แต่มีการพัฒนาโดยแนวคิดของ Edward Deming เกิดเป็นอีกชื่อว่า Deming Cycle โดยองค์กรขนาดใหญ่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก อาทิ Toyota Canon เป็นต้น
 
 
ดังนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่าแนวคิดนี้สามารถนำมาใช้ได้จริง สามารถนำแนวคิด PDCA มาพัฒนาระบบการทำงานในองค์กรให้ดีขึ้นได้ในระยะยาว หรือแม้กระทั่งสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ทุกวัน โดยขั้นตอนการทำมีดังนี้

 

 

 

Plan (การวางแผน)
 
“การวางแผนดำเนินงาน เพื่อให้ตรงเป้าหมายและเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ต้องการ”
 
ขั้นตอนของการวางแผนก่อนการลงมือปฏิบัติจริง โดยเริ่มจากการมองปัญหาหลักที่ต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือพัฒนา อาจจะเริ่มจากการกำหนดความสำคัญให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 
 
โดยทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจตรงกันถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด อาทิ ปัญหาหลัก สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา วิธีแก้ไขอะไรที่เราต้องการ ทรัพยากรอะไรที่เรามี อะไรคือมาตรการหรือหน่วยวัดความสำเร็จนั้น (KPI) และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดเป็นไปตามแผนไหม
 
สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยคาดการณ์สิ่งที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต และยังช่วยลดการสูญเสียทางด้านต่างๆ อาทิ เงินทุน บุคลากร และเวลา

 

 

 

Do (ลงมือทำ)
 
“การลงมือปฏิบัติตามที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด และต้องตรวจสอบได้”
 
หลังจากการวางแผนอย่างครอบคลุม ขั้นตอนนี้คือ การทำตามแผนงานที่ตั้งไว้อย่างเป็นระบบ และทดสอบสมมติฐานหรือข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจจะทดสอบจากโครงการเล็กๆก่อน ในสภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้ เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ได้และระหว่างการทดสอบต้องเก็บข้อมูลที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดของปัญหาไว้ เพื่อเก็บผลลัพธ์และประสิทธิภาพที่ดีที่สุดไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป 

 

 

 

Check (การตรวจสอบ)
 
“ตรวจวัดผลจากการปฏิบัติว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้”
 
หลังจากเริ่มปฏิบัติงาน ก็ถึงขั้นตอนที่ต้องตรวจสอบและวิเคราะห์แผนงานที่วางไว้ว่า บรรลุวัตถุประสงค์และคืบหน้าตามที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่จะบอกได้คือตัวชี้วัดที่เรากำหนดไว้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะช่วยให้คุณประเมินวิธีแก้ปัญหา และทบทวนแผนงานที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และง่ายต่อการปรับปรุง
 
การประเมินขั้นตอนนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบครอบที่สุด เพราะจะช่วยให้คุณตัดสินใจในขั้นตอนต่อไปได้
 

 

 

 

Action (การปรับปรุง, นำไปใช้)
 
“การปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุด”

 

หากตรวจสอบแล้วไม่สำเร็จตามเกณฑ์ที่วางแผนไว้ จะต้องกลับไปปรับปรุงใหม่
 
หรือ
 
หากทุกอย่างสำเร็จตามเกณฑ์ที่วางแผนงานไว้ทั้งหมด วิธีนั้นจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่เป็นพื้นฐานของบริษัทคุณในการดำเนินงานการทำซ้ำในอนาคตหลังจากนี้
 
 
 
ขั้นตอนสุดท้ายคือ นอกจากวิเคราะห์ผลสำเร็จทั้งหมดแล้ว จะต้องนำข้อผิดพลาดที่เจอไปปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการในส่วนที่มีปัญหาแล้วทำแผนเพื่อขยายผลหรือต่อยอดการปรับปรุงจนกว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้จริง  เพื่อยกมาตรฐานองค์กรเดิมให้สูงขึ้น
 
 
 
 

TAG: #crmbysmileSME  #smileFOKUS

 
Back
Share